วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อุปกรณ์กำเนิดแสงและรับแสง


อุปกรณ์กำเนิดแสงและรับแสง

อุปกรณ์ให้กำเนิดแสง  (Transmitter Devices)  เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสงเลเซอร์ อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในงานการสื่อสารทางแสง  เป็นประเภทเลเซอร์ไดโอด  หรือเลเซอร์สารกึ่งตัวนำ  เพราะเลเซอร์ประเภทนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก ใช้งานได้สะดวกอุปกรณ์ให้กำเนิดเเสงที่นิยมใช้งานมีอยู่  2 ชนิด  คือ  ไดโอดเปล่งแสง(Light-Emitting Diode : LED) และเลเซอร์ไดโอด(Laser Diode : LD)  ส่วนอุปกรณ์รับแสง (Receiver Devices) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนสัญญาณแสงเลเซอร์กลับไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าอุปกรณ์รับแสงที่นิยมใช้ในการสื่อสารทางแสงมี2ชนิดคือโฟโตไดโอด  (Photo Diode  : PD)  และอวาแลนช์โฟโตไดโอด (Avalanche Photo Diode : APD)
ในช่วงระหว่างสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณที่เชื่อมด้วยเส้นใยนำแสงจะต้องมี
สถานีทวนสัญญาณ(Repeater)ทำหน้าที่ขยายและจัดรูปสัญญาณที่เกิดการผิดเพี้ยนไปในระหว่าง
การเดินทาง แสดงในรูป 3  ในการใช้งานจริง ระยะห่างระหว่างสถานีทวนสัญญาณ(Repeater spacing) จะมีค่าประมาณ 30-50 กิโลเมตร โดยจะขึ้นกับขนาดหรือปริมาณของข้อมูลที่ใช้รับส่ง ตัวอย่างเช่น ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยแก้วที่ถูกออกแบบ ใช้งานทั่วไปสามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลที่มีขนาด2 Gb/s (สองพันล้านบิตในหนึ่งวินาที) ไปเป็นระยะทาง2,200 กิโลเมตร โดยมีสถานีทวนสัญญาณเพียง 25 สถานี ในทุกๆระยะ 80 กิโลเมตรเท่านั้น

1.ภาคส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Data)
  • อุปกรณ์สำคัญ ที่ทำให้ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงแตกต่างจากระบบสื่อสารทั่วไป คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณแสงที่ใช้นำข้อมูลไปในเส้นใยนำแสง โดยมีแหล่งกำเนิดแสง (Light Source)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสงหรือ  E/O Converter แหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ในระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงต้องมีคุณสมบัติบางประการ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับเส้นใย นำแสงที่ทำจากสารกึ่งตัวนำโดยการปล่อยอิเล็กตรอนในแถบน าไฟฟ้าลงสู่แถบวาเลนซ์(Valence Band) รวมตัวกันของอิเล็กตรอน(Electron)และโฮล(Hole)แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ
    โฟตอน(Photon)ซึ่งเป็นอนุภาคของแสงดังต่อไปนี้
    1.1สามารถให้แสงที่มีพลังงานหรือความเข้มแสงมากพอที่ทำให้สัญญาณแสงสามารถเดินทางไป
    ได้ตลอดระยะทางของการสื่อสาร
    1.2โครงสร้างของแหล่งกำเนิดแสงต้องสามารถส่งพลังงานแสงส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเข้าไปในเส้นใยนำแสงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กได้นั่นคือมุมของการเปล่งแสงออกจากแหล่งกำเนิดมีลักษณะกระจายเป็นมุมกว้าง อาจใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมแสงเช่นเลนส์นูนเข้ามาช่วยเพื่อรวมแสงส่วนใหญ่ให้พุ่งเข้าสู่เส้นใยนำแสงได้
    1.3ความยาวคลื่นของแสงที่ได้ต้องมีความเหมาะสมกับเส้นใยแก้วที่ใช้ ในระบบสื่อสารใยแสง ความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับเส้นใยแก้วมากที่สุด มีค่าประมาณ1.55ไมครอน รองลงมาอาจได้แก่1.3 ไมครอน และ 0.82 ไมครอน
    1.4 ช่วงเวลาตอบสนอง(Response time)ของแหล่งกำเนิดหรือช่วงเวลาที่แหล่งกำเนิดได้รับสัญญาณไฟฟ้า แล้วสร้างสัญญาณแสงออกมา ต้องมีค่าสั้นมากๆอันจะมีผลทำให้ได้วงจรขับสัญญาณแสงสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงหรือมีปริมาณมากๆได้ดังนี้
    1.5กำลังงานแสงต้องมีค่าคงที่ต่อเนื่องตลอดเวลา และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆอันเนื่องจากผลของอุณหภูมิ และสภาพแวดล้อมขณะใช้งาน

    2.แหล่งกำเนิดแสง (Light  Source)
  • จากรูป แสดงแนวคิดแหล่งกำเนิดแสงผ่านเส้นใยนำแสงในทางปฏิบัติ การกำเนิดแสงแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การปล่อยเอง (Spontaneous Emission) และการปล่อยแบบกระตุ้น (Stimulated Emission) การกำเนิดโดยการปล่อยแบบกระตุ้น  ทำให้ได้แสงที่มีความเข้มสูงซึ่งเป็นหลักการกำเนิดแสงของเลเซอร์ (LASER)เหมาะกับการสื่อสารทางไกลในขณะที่แอลอีดี (LED) กำเนิดแสงโดยการปล่อยเอง ทำให้แสงที่ได้มีความเข้มต่างๆ ไม่สามารถสร้างลำแสงแบบโหมดเดียวได้  สำหรับงานสื่อสารทางไกล
    รูปแสดง การกำเนิดแสง  (ก) การปล่อยเอง (ข) การปล่อยแบบกระตุ้น

    การกำเนิดแสงด้วยสารกึ่งตัวนำจะใช้รอยต่อพีเอ็น (P-N)เป็นโครงสร้างพื้นฐานโดยการให้ไบอัสตรงกับรอยต่อพีเอ็นเป็นผลให้โฟตอนของแสงได้ความถี่และความยาวคลื่นของแสงออกมาขึ้นอยู่กับช่องว่างพลังงาน (Energy Gap : EG)  ของสารกึ่งตัวนำ
    ตัวอย่างของแหล่งกำเนิดแสงที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำGaAsซึ่งมีค่าEg = 1.13 eVจะปล่อยแสงออกที่ความยาวคลื่นเท่ากับ  0.87 µm ซึ่งเป็นแสงในย่านอินฟาเรดไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เหมาะสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ ใช้ในงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคารแหล่งกำเนิดแสงที่นิยมใช้กันมากในระบบแสงและเส้นใยนำแสง  ได้แก่แหล่งกำเนิดแสงสารกึ่งตัวนำ เช่นไดโอดเลเซอร์และไดโอดเปล่งแสงที่มีความต้องการกำลังไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น


    3.ภาครับสัญญาณข้อมูล (Receiver Data)
    อุปกรณ์รับข้อมูลทางแสง(Photo  Detector)ตัวตรวจจับแสงหรือ โฟโต้ดีเทคเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับสัญญาณข้อมูล (Receiver Data)แล้วแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า(O/E) ซึ่งโดยปกติสัญญาณแสงที่เครื่องรับปลายทางในระบบสื่อสารทางแสงจะมีขนาดต่างมากและ
    มีการผิดเพี้ยนเกิดขึ้นเสมอดังนั้นในระบบสื่อสารทางแสงจึงต้องการโฟโต้ดีเทคเตอร์ที่มี
    ประสิทธิภาพสูงมากกล่าวคือโฟโต้ดีเทคเตอร์จะต้องมีความไวในการรับสูงให้ผลตอบสนองต่อ
    สัญญาณแสงที่ดีรวดเร็วแบนด์วิธกว้าง (High Bandwidh) และเกิดสัญญาณรบกวนต่างๆ มากในย่านความยาวคลื่นที่ใช้งานโฟโต้ดีเทคเตอร์มีอยู่หลายชนิด  เฉพาะโฟโต้ดีเทคเตอร์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำ  หรือที่เรียกว่าโฟโต้ไดโอด (Photo  diode) เป็นแบบที่มีความเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งานด้านการสื่อสารทางแสง  เนื่องจากมีนาดเล็กมีความไวสูงและให้ผลตอบสนองที่รวดเร็ว
    -ไดโอด APD (Avalanche Photo Diode)
    ไดโอดAPDมีโครงสร้างคล้ายกับพินไดโอดแต่มีชั้นของสารกึ่งตัวนำเป็น n+pip+ซึ่งตรงรอยต่อระหว่างn+(โด๊ปให้มีปริมาณของอิเล็กตรอนสูงมาก)และp จะเกิดเป็นบริเวณที่สนามไฟฟ้ามีค่าสูงมากเมื่อได้รับการไบแอส ทำให้เกิดการชนกันของอิเล็กตรอนและโฮลในบริเวณนี้ทำให้ทั้งอิเล็กตรอนและโฮลเกิดการแตกตัวและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณดังนั้นค่ากระแสที่ได้จากการตรวจจับแสงจึงมีค่าเพิ่มเป็นทวีคูณด้วยกล่าวคือเกิดการขยายของกระแสไฟฟ้าขึ้นภายในตัวไดโอด   APD ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า avalanche  effect  โดยค่าที่ทวีคูณ (Multiplication : M) ได้จากนิยามดังนี้
    โดยที่   IM เป็นค่าเฉลี่ยของกระแสเอาต์พุตเมื่อมีการทวีคูณ
    IP เป็นกระแสในกรณีที่ไม่มีการทวีคูณ
    รูปแสดงโครงสร้างของไดโอดAPD
     ไดโอดรับแสงแบบ APD จะมีโครงสร้างและลักษณะของสนามไฟฟ้าดังรูป จะเห็นว่ามีสาร P+ มาต่อที่ปลายอีกด้านหนึ่งของสารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์โดยสาร P+ นี้จะหมายถึงสารพีที่มีความหนาแน่นของโฮลสูงเพื่อให้สนามไฟฟ้าบริเวณสารพี-เอ็น มีค่ามากคือ เกิดช่วงที่เรียกว่า "ช่วงอัตราขยาย (Gain region)" หรือ "ช่วงอวาลานซ์(Avalanche region)"
    โดยปกติการทวีคูณของกระแสจะเกิดขึ้นเมื่อมีการให้ไบแอสกลับด้วยค่าแรงดันประมาณ15 V ขึ้นไปโดยค่าทวีคูณหรืออัตราขยายอาจมีค่าสูงถึง1,000เท่า    รูปแสดงอัตราขยายกระแสของไดโอด  APD  ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ซิลิกอน
    รูปแสดงอัตราการขยายกระแสของไดโอดAPDณ ความยาวคลื่นต่างๆ
    การทำงานเมื่อมีแสงมาตกกระทบจะทำให้ให้มีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากสาร N ไปยังสาร
    P และเมื่ออิเล็กตรอนเดินทางมายังสาร P อิเล็กตรอนจะได้รับพลังงานจำนวนมากกว่าผลต่างของระดับพลังงานระหว่างแถบความนำและแถบวาเลนซ์เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานมากระตุ้นจะส่งผลให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงพอที่จะทำให้อิเล็กตรอนและโฮลที่รวมตัวกันอยู่ในช่องว่างบริเวณรอยต่อแตกตัวออกทำให้ช่องว่างบริเวณรอยต่อยิ่งแคบลงส่งผลให้อิเล็กตรอนสามารถข้ามไปรวมตัวกับโฮลได้มากขึ้นและเร็วขึ้น   โดย APD มีความไวสูงกว่า PIN ประมาณ 10-20 dB รูปแสดงโครงสร้างและรูปร่างของไดโอดรับแสงแบบ APD
    รูปแสดงโครงสร้างและรูปร่างของไดโอดรับแสงแบบ APD
    เนื่องจากไดโอด APD ที่นำมาใช้งานจริงในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำเป็นชุดหรือ Module เรียบร้อยแล้ว สะดวกสำหรับการติดตั้ง ง่ายต่อการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามยังคงใช้ปรากฏการณ์การขยาย  AVALANCHE อยู่ ดังนั้นจึงมีความไวสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ PD ทั่วไปและสัญญาณรบกวน (NOISE) ที่เกิดในอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่า SHOT NOISE นี้เป็น NOISE อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ Photo current(Ip) ที่เกิดจากการกระตุ้นอิเล็กตรอนอย่างไม่เป็นระเบียบนั่นเอง
    ประสิทธิภาพของอุปกรณ์รับแสงจะประเมินจากคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่UANTUM  EFFIDIENCY ซึ่งแสดงว่าแสงที่รับมานั้นถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้มากเท่าไร ความไวการรับแสง(ระดับรับแสงต่างๆ สุดที่ต้องการสำหรับการส่งที่มีคุณภาพ)ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบระยะห่าง การถ่ายทอดของระบบการสื่อสารด้วยเส้นใยแสง(Repeater Station)  สัญญาณรบกวน (NOISE) ที่เกิดขึ้นและความเร็วของการตอบสนองการทำงาน สำหรับ   QUANTUM  EFFIDIENCY   กำหนดจากสารและโครงสร้างของอุปกรณ์รับแสงแสง แต่สำหรับความไวการรับแสงนั้นจะเกี่ยวข้องกับขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้ด้วย (Bias voltage) 

    วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

    การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบบเครื่องต่อเครื่อง

    การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบบเครื่องต่อเครื่อง ( Wireless: Ad hoc mode)
    การเชื่อมต่อแบบกลุ่มส่วนตัว(Ad-Hoc)
    การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปที่ติดตั้ง
    การ์ดแลนไร้สาย (หรือ Centrino Notebook) ทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์กระจาย
    สัญญาณ (Access Point) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบนี้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เช่น แชร์
    ไฟล์ เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ การสนทนาแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเล่นเกมส์แบบวงแลนได้ ซึ่งช่วยให้
    เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องมีสายสัญญาณ แต่การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc จะไม่
    สามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายมีสายสัญญาณได้ นอกจากจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ Acces Point เพื่อให้
    Access Point ทำการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลไป

     1. เข้าไปที่ control panel -> network connection 2. ดับเบิ้ลคลิกที่ local area connection เพื่อดูค่า ip 3. จากนั้นเลือกแทบ support คลิกปุ่ม detail เพื่อดูค่าทั้งหมด
    4. จะขึ้นหน้าต่างนี้ให้ดูที่ ip และ dhcp server 5. จากนั้นคลิกขวาที่ local area network ที่เดิม เลือก properties->advanced
    จะขึ้นหน้าต่างนี้ขึ้นมา ให้ทำเครื่องหมายทั้ง 2 ช่อง 6. จากนั้นไปที่ wireless network connection คลิกขวา properties 7. เลือกตามในรูป เพื่อเข้าไปตั้งค่า ip address ของ wireless เครื่องแม่ 8. เซตค่าต่างๆตามรูป ส่วน DNS server ให้เอาจากข้อ 4
    9.จานั้นไปที่แถบ wireless networks แล้วคลิกปุ่ม add เพื่อทำการสร้าง ssid 10. ให้เซตตามรูป ใส่ ssid ที่ต้องการ network key คือรหัสใส่แค่ 5 ตัว
    12. ได้เครือข่่ายออกมา
    13. คลิกปุ่ม advance ทำเครื่องหมายดังรูป
    14.ได้แล้ว
    เครื่องลูกก็ทำการเชื่อมต่อได้เลย

    การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์

    การเชื่่อมต่อคอมพิวเตอร์
     สิ่งที่ต้องมี
     1. คอมพิวเตอร์สองเครื่อง และต้องติดตั้งการ์ด LAN ทั้งสองเครื่อง (หรือถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่ต้อง)
     2. ทำสาย LAN แบบไขว้ หรือสายแลนแบบ cross + เข้าหัว RJ45 ความยาวสาย กะเอาครับว่าจะห่างกันแค่ไหน (สายแลนแบบ cross ก็คือ การต่อสายเพื่อให้ใช้ได้กับเครื่องคอม 2 เครื่องโดยไม่ต้องผ่าน HUB)

          หากผู้ใช้มีความคิดที่จะนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาต่อเป็นระบบ โดยใช้ขีดความสามารถเดิมที่มีอยู่ สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้ 1) การต่อเชื่อมผ่านช่องทาง COM1 COM2 และ LPT เป็นวิธีที่นำคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ต่อผ่านช่องทาง COM1 หรือ COM2 เพื่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างนั้น ในกรณีนี้ใช้โปรแกรมอรรกประโยชน์ (utility program) บางตัวก็สามารถสำเนาแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน หรือส่งออกไปยังเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ รูปแบบการต่อระบบโดยอาศัย COM1 COM2 และ LPT แสดงดังรูป

        การต่อในลักษณะนี้ใช้ช่องทาง RS232 และมีการส่งข้อมูลแบบอนุกรม ปัจจุบันสามารถทำการรับส่งข้อมูลถึงกันได้เร็วถึง 38.4 กิโลบิตต่อวินาที การจัดการระบบง่าย ๆ นี้ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมาก แต่ประโยชน์ที่ได้จะอยู่ในวงจำกัด โดยเฉพาะในเรื่องการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน 2) การต่อเชื่อมเข้ากับบัฟเฟอร์เครื่องพิมพ์ การแบ่งกันใช้เครื่องพิมพ์เป็นวิธีการใช้ทรัพยากรเครื่องพิมพ์ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น การใช้เครื่องพิมพ์ที่มีราคาแพง มีคุณภาพดี เช่น เครื่องพิมพ์ความเร็วสูง เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องพิมพ์ที่พิมพ์สีได้ เป็นต้น การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันวิธีหนึ่งก็คือ การต่อเข้ากับบัฟเฟอร์ของเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง แล้วจัดการส่งงานทยอยพิมพ์เรียงกันไป เครื่องพิมพ์ที่ต่อกับบัฟเฟอร์จะต่อผ่านช่องทางขนานเหมือนการต่อทั่วไป อย่างไรก็ดี บัฟเฟอร์ของเครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถต่อกับเครื่องพิมพ์ได้หลายเครื่อง


                                   ตัวอย่างการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน

          การเชื่อมต่อโดยใช้ระบบสลับสายข้อมูล เป็นวิธีการต่อขยายระบบโดยใช้ระบบง่าย ๆ ที่ใช้มือช่วย ระบบสลับสายข้อมูลทำหน้าที่เหมือนชุมสายโทรศัพท์ระบบเก่า ที่ต้องมีพนักงานรับโทรศัพท์คอยสลับสายให้ใช้งานตามความต้องการ เช่น ใช้สายยูทีพี โดยให้หัวต่อเป็นแบบ RJ45 การสลับสายจะเชื่อมตัวระหว่างหัวต่อ RJ45 ที่มารวมกันไว้อยู่บนแผงร่วมกัน ส่วนของแผงนี้จะเป็นเสมือนส่วนที่รวมสาย เพื่อการเชื่อมโยงจากต้นทางไปยังปลายทางตามข้อกำหนดที่ต้องการ

                                            ตัวอย่างการต่อเชื่อมเครือข่ายโดยใช้ระบบสลับสายข้อมูล

            ปัจจุบันมีแผงสลับสายข้อมูลให้ผู้ใช้เลือกใช้ทั้งอีเธอร์เน็ตแบบเท็นเบสที หรือแบบอนุกรมผ่านช่องทาง RS232 การใช้ระบบสลับสายข้อมูลเป็นการเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบง่าย ๆ แต่สามารถปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน 4) การเชื่อมต่อผ่านระบบผู้ใช้หลายคนหลายช่องทาง ระบบผู้ใช้หลายคนขนาดเล็กที่อยู่บนไมโครคอมพิวเตอร์มีหลายระบบ เช่น ระบบยูนิกซ์ ระบบเอสซีโอ ระบบดังกล่าวสามารถต่อเชื่อมขยายเข้ากับสถานีย่อยได้มาก เป็นระบบที่ใช้งานร่วมกันได้ในราคาประหยัด มีซอฟต์แวร์สนับสนุนอยู่มากเช่น ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีระบบรักษาความปลอดภัย ข้อเด่นของระบบผู้ใช้หลายคนในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้ใช้งานพร้อมกันได้หลายคน หลายงาน มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์และซอฟต์แวร์ระบบสื่อสารไว้มาก มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี มีการต่อช่องทางเข้าออกไปได้หลายแบบ เช่น แบบเป็นสถานีปลายทาง RS232 ผ่านทางเส้นใยนำแสง อีกทั้งมีระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่เชื่อมต่อตามมาตรฐานสากล ทำให้การทำงานของระบบประสบผลสำเร็จ



    ตัวอย่างการต่อเชื่อมระบบยูนิกซ์บนพีซีซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนการรวมกลุ่มใช้งานอีกแบบหนึ่ง

    วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

    วันปีใหม่

    สวัดดีครับ ผม ทัศนัย อากิม ก่อนเทศกาลปีใหม่ ผมได้เดินทางกลับต่างจังหวัดไปเยี่ยมแม่และญาติ ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผมไม่ค่อยได้กลับต่างจังหวัดบ่อยครั้งนัก ไปเจอญาติแต่ล่ะคนเลยจำไม่ค่อยได้บ้างไม่รู้จักบ้าง และได้เฉลิมฉลองวันปีใหม่กับพ่อแม่และญาติๆ ซึ่งญาติก็มากันเยอะมาก วันต่อมาก็ได้เดินทางกลับมายัง กทม.