วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อุปกรณ์กำเนิดแสงและรับแสง


อุปกรณ์กำเนิดแสงและรับแสง

อุปกรณ์ให้กำเนิดแสง  (Transmitter Devices)  เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสงเลเซอร์ อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในงานการสื่อสารทางแสง  เป็นประเภทเลเซอร์ไดโอด  หรือเลเซอร์สารกึ่งตัวนำ  เพราะเลเซอร์ประเภทนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก ใช้งานได้สะดวกอุปกรณ์ให้กำเนิดเเสงที่นิยมใช้งานมีอยู่  2 ชนิด  คือ  ไดโอดเปล่งแสง(Light-Emitting Diode : LED) และเลเซอร์ไดโอด(Laser Diode : LD)  ส่วนอุปกรณ์รับแสง (Receiver Devices) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนสัญญาณแสงเลเซอร์กลับไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าอุปกรณ์รับแสงที่นิยมใช้ในการสื่อสารทางแสงมี2ชนิดคือโฟโตไดโอด  (Photo Diode  : PD)  และอวาแลนช์โฟโตไดโอด (Avalanche Photo Diode : APD)
ในช่วงระหว่างสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณที่เชื่อมด้วยเส้นใยนำแสงจะต้องมี
สถานีทวนสัญญาณ(Repeater)ทำหน้าที่ขยายและจัดรูปสัญญาณที่เกิดการผิดเพี้ยนไปในระหว่าง
การเดินทาง แสดงในรูป 3  ในการใช้งานจริง ระยะห่างระหว่างสถานีทวนสัญญาณ(Repeater spacing) จะมีค่าประมาณ 30-50 กิโลเมตร โดยจะขึ้นกับขนาดหรือปริมาณของข้อมูลที่ใช้รับส่ง ตัวอย่างเช่น ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยแก้วที่ถูกออกแบบ ใช้งานทั่วไปสามารถรับส่งสัญญาณข้อมูลที่มีขนาด2 Gb/s (สองพันล้านบิตในหนึ่งวินาที) ไปเป็นระยะทาง2,200 กิโลเมตร โดยมีสถานีทวนสัญญาณเพียง 25 สถานี ในทุกๆระยะ 80 กิโลเมตรเท่านั้น

1.ภาคส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Data)
  • อุปกรณ์สำคัญ ที่ทำให้ระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงแตกต่างจากระบบสื่อสารทั่วไป คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณแสงที่ใช้นำข้อมูลไปในเส้นใยนำแสง โดยมีแหล่งกำเนิดแสง (Light Source)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสงหรือ  E/O Converter แหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ในระบบสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสงต้องมีคุณสมบัติบางประการ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับเส้นใย นำแสงที่ทำจากสารกึ่งตัวนำโดยการปล่อยอิเล็กตรอนในแถบน าไฟฟ้าลงสู่แถบวาเลนซ์(Valence Band) รวมตัวกันของอิเล็กตรอน(Electron)และโฮล(Hole)แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของ
    โฟตอน(Photon)ซึ่งเป็นอนุภาคของแสงดังต่อไปนี้
    1.1สามารถให้แสงที่มีพลังงานหรือความเข้มแสงมากพอที่ทำให้สัญญาณแสงสามารถเดินทางไป
    ได้ตลอดระยะทางของการสื่อสาร
    1.2โครงสร้างของแหล่งกำเนิดแสงต้องสามารถส่งพลังงานแสงส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเข้าไปในเส้นใยนำแสงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กได้นั่นคือมุมของการเปล่งแสงออกจากแหล่งกำเนิดมีลักษณะกระจายเป็นมุมกว้าง อาจใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมแสงเช่นเลนส์นูนเข้ามาช่วยเพื่อรวมแสงส่วนใหญ่ให้พุ่งเข้าสู่เส้นใยนำแสงได้
    1.3ความยาวคลื่นของแสงที่ได้ต้องมีความเหมาะสมกับเส้นใยแก้วที่ใช้ ในระบบสื่อสารใยแสง ความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมกับเส้นใยแก้วมากที่สุด มีค่าประมาณ1.55ไมครอน รองลงมาอาจได้แก่1.3 ไมครอน และ 0.82 ไมครอน
    1.4 ช่วงเวลาตอบสนอง(Response time)ของแหล่งกำเนิดหรือช่วงเวลาที่แหล่งกำเนิดได้รับสัญญาณไฟฟ้า แล้วสร้างสัญญาณแสงออกมา ต้องมีค่าสั้นมากๆอันจะมีผลทำให้ได้วงจรขับสัญญาณแสงสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงหรือมีปริมาณมากๆได้ดังนี้
    1.5กำลังงานแสงต้องมีค่าคงที่ต่อเนื่องตลอดเวลา และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆอันเนื่องจากผลของอุณหภูมิ และสภาพแวดล้อมขณะใช้งาน

    2.แหล่งกำเนิดแสง (Light  Source)
  • จากรูป แสดงแนวคิดแหล่งกำเนิดแสงผ่านเส้นใยนำแสงในทางปฏิบัติ การกำเนิดแสงแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การปล่อยเอง (Spontaneous Emission) และการปล่อยแบบกระตุ้น (Stimulated Emission) การกำเนิดโดยการปล่อยแบบกระตุ้น  ทำให้ได้แสงที่มีความเข้มสูงซึ่งเป็นหลักการกำเนิดแสงของเลเซอร์ (LASER)เหมาะกับการสื่อสารทางไกลในขณะที่แอลอีดี (LED) กำเนิดแสงโดยการปล่อยเอง ทำให้แสงที่ได้มีความเข้มต่างๆ ไม่สามารถสร้างลำแสงแบบโหมดเดียวได้  สำหรับงานสื่อสารทางไกล
    รูปแสดง การกำเนิดแสง  (ก) การปล่อยเอง (ข) การปล่อยแบบกระตุ้น

    การกำเนิดแสงด้วยสารกึ่งตัวนำจะใช้รอยต่อพีเอ็น (P-N)เป็นโครงสร้างพื้นฐานโดยการให้ไบอัสตรงกับรอยต่อพีเอ็นเป็นผลให้โฟตอนของแสงได้ความถี่และความยาวคลื่นของแสงออกมาขึ้นอยู่กับช่องว่างพลังงาน (Energy Gap : EG)  ของสารกึ่งตัวนำ
    ตัวอย่างของแหล่งกำเนิดแสงที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำGaAsซึ่งมีค่าEg = 1.13 eVจะปล่อยแสงออกที่ความยาวคลื่นเท่ากับ  0.87 µm ซึ่งเป็นแสงในย่านอินฟาเรดไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เหมาะสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ ใช้ในงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคารแหล่งกำเนิดแสงที่นิยมใช้กันมากในระบบแสงและเส้นใยนำแสง  ได้แก่แหล่งกำเนิดแสงสารกึ่งตัวนำ เช่นไดโอดเลเซอร์และไดโอดเปล่งแสงที่มีความต้องการกำลังไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น


    3.ภาครับสัญญาณข้อมูล (Receiver Data)
    อุปกรณ์รับข้อมูลทางแสง(Photo  Detector)ตัวตรวจจับแสงหรือ โฟโต้ดีเทคเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับสัญญาณข้อมูล (Receiver Data)แล้วแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า(O/E) ซึ่งโดยปกติสัญญาณแสงที่เครื่องรับปลายทางในระบบสื่อสารทางแสงจะมีขนาดต่างมากและ
    มีการผิดเพี้ยนเกิดขึ้นเสมอดังนั้นในระบบสื่อสารทางแสงจึงต้องการโฟโต้ดีเทคเตอร์ที่มี
    ประสิทธิภาพสูงมากกล่าวคือโฟโต้ดีเทคเตอร์จะต้องมีความไวในการรับสูงให้ผลตอบสนองต่อ
    สัญญาณแสงที่ดีรวดเร็วแบนด์วิธกว้าง (High Bandwidh) และเกิดสัญญาณรบกวนต่างๆ มากในย่านความยาวคลื่นที่ใช้งานโฟโต้ดีเทคเตอร์มีอยู่หลายชนิด  เฉพาะโฟโต้ดีเทคเตอร์ที่ใช้สารกึ่งตัวนำ  หรือที่เรียกว่าโฟโต้ไดโอด (Photo  diode) เป็นแบบที่มีความเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งานด้านการสื่อสารทางแสง  เนื่องจากมีนาดเล็กมีความไวสูงและให้ผลตอบสนองที่รวดเร็ว
    -ไดโอด APD (Avalanche Photo Diode)
    ไดโอดAPDมีโครงสร้างคล้ายกับพินไดโอดแต่มีชั้นของสารกึ่งตัวนำเป็น n+pip+ซึ่งตรงรอยต่อระหว่างn+(โด๊ปให้มีปริมาณของอิเล็กตรอนสูงมาก)และp จะเกิดเป็นบริเวณที่สนามไฟฟ้ามีค่าสูงมากเมื่อได้รับการไบแอส ทำให้เกิดการชนกันของอิเล็กตรอนและโฮลในบริเวณนี้ทำให้ทั้งอิเล็กตรอนและโฮลเกิดการแตกตัวและมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณดังนั้นค่ากระแสที่ได้จากการตรวจจับแสงจึงมีค่าเพิ่มเป็นทวีคูณด้วยกล่าวคือเกิดการขยายของกระแสไฟฟ้าขึ้นภายในตัวไดโอด   APD ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า avalanche  effect  โดยค่าที่ทวีคูณ (Multiplication : M) ได้จากนิยามดังนี้
    โดยที่   IM เป็นค่าเฉลี่ยของกระแสเอาต์พุตเมื่อมีการทวีคูณ
    IP เป็นกระแสในกรณีที่ไม่มีการทวีคูณ
    รูปแสดงโครงสร้างของไดโอดAPD
     ไดโอดรับแสงแบบ APD จะมีโครงสร้างและลักษณะของสนามไฟฟ้าดังรูป จะเห็นว่ามีสาร P+ มาต่อที่ปลายอีกด้านหนึ่งของสารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์โดยสาร P+ นี้จะหมายถึงสารพีที่มีความหนาแน่นของโฮลสูงเพื่อให้สนามไฟฟ้าบริเวณสารพี-เอ็น มีค่ามากคือ เกิดช่วงที่เรียกว่า "ช่วงอัตราขยาย (Gain region)" หรือ "ช่วงอวาลานซ์(Avalanche region)"
    โดยปกติการทวีคูณของกระแสจะเกิดขึ้นเมื่อมีการให้ไบแอสกลับด้วยค่าแรงดันประมาณ15 V ขึ้นไปโดยค่าทวีคูณหรืออัตราขยายอาจมีค่าสูงถึง1,000เท่า    รูปแสดงอัตราขยายกระแสของไดโอด  APD  ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ ซิลิกอน
    รูปแสดงอัตราการขยายกระแสของไดโอดAPDณ ความยาวคลื่นต่างๆ
    การทำงานเมื่อมีแสงมาตกกระทบจะทำให้ให้มีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจากสาร N ไปยังสาร
    P และเมื่ออิเล็กตรอนเดินทางมายังสาร P อิเล็กตรอนจะได้รับพลังงานจำนวนมากกว่าผลต่างของระดับพลังงานระหว่างแถบความนำและแถบวาเลนซ์เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานมากระตุ้นจะส่งผลให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงพอที่จะทำให้อิเล็กตรอนและโฮลที่รวมตัวกันอยู่ในช่องว่างบริเวณรอยต่อแตกตัวออกทำให้ช่องว่างบริเวณรอยต่อยิ่งแคบลงส่งผลให้อิเล็กตรอนสามารถข้ามไปรวมตัวกับโฮลได้มากขึ้นและเร็วขึ้น   โดย APD มีความไวสูงกว่า PIN ประมาณ 10-20 dB รูปแสดงโครงสร้างและรูปร่างของไดโอดรับแสงแบบ APD
    รูปแสดงโครงสร้างและรูปร่างของไดโอดรับแสงแบบ APD
    เนื่องจากไดโอด APD ที่นำมาใช้งานจริงในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำเป็นชุดหรือ Module เรียบร้อยแล้ว สะดวกสำหรับการติดตั้ง ง่ายต่อการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามยังคงใช้ปรากฏการณ์การขยาย  AVALANCHE อยู่ ดังนั้นจึงมีความไวสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ PD ทั่วไปและสัญญาณรบกวน (NOISE) ที่เกิดในอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่า SHOT NOISE นี้เป็น NOISE อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ Photo current(Ip) ที่เกิดจากการกระตุ้นอิเล็กตรอนอย่างไม่เป็นระเบียบนั่นเอง
    ประสิทธิภาพของอุปกรณ์รับแสงจะประเมินจากคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่UANTUM  EFFIDIENCY ซึ่งแสดงว่าแสงที่รับมานั้นถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้มากเท่าไร ความไวการรับแสง(ระดับรับแสงต่างๆ สุดที่ต้องการสำหรับการส่งที่มีคุณภาพ)ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการออกแบบระยะห่าง การถ่ายทอดของระบบการสื่อสารด้วยเส้นใยแสง(Repeater Station)  สัญญาณรบกวน (NOISE) ที่เกิดขึ้นและความเร็วของการตอบสนองการทำงาน สำหรับ   QUANTUM  EFFIDIENCY   กำหนดจากสารและโครงสร้างของอุปกรณ์รับแสงแสง แต่สำหรับความไวการรับแสงนั้นจะเกี่ยวข้องกับขนาดของแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้ด้วย (Bias voltage) 

    วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

    การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบบเครื่องต่อเครื่อง

    การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบบเครื่องต่อเครื่อง ( Wireless: Ad hoc mode)
    การเชื่อมต่อแบบกลุ่มส่วนตัว(Ad-Hoc)
    การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปที่ติดตั้ง
    การ์ดแลนไร้สาย (หรือ Centrino Notebook) ทำการเชื่อมต่อสื่อสารกันโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์กระจาย
    สัญญาณ (Access Point) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อแบบนี้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลได้เช่น แชร์
    ไฟล์ เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์ต่างๆ การสนทนาแบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และเล่นเกมส์แบบวงแลนได้ ซึ่งช่วยให้
    เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องมีสายสัญญาณ แต่การเชื่อมต่อแบบ Ad-Hoc จะไม่
    สามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายมีสายสัญญาณได้ นอกจากจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ Acces Point เพื่อให้
    Access Point ทำการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลไป

     1. เข้าไปที่ control panel -> network connection 2. ดับเบิ้ลคลิกที่ local area connection เพื่อดูค่า ip 3. จากนั้นเลือกแทบ support คลิกปุ่ม detail เพื่อดูค่าทั้งหมด
    4. จะขึ้นหน้าต่างนี้ให้ดูที่ ip และ dhcp server 5. จากนั้นคลิกขวาที่ local area network ที่เดิม เลือก properties->advanced
    จะขึ้นหน้าต่างนี้ขึ้นมา ให้ทำเครื่องหมายทั้ง 2 ช่อง 6. จากนั้นไปที่ wireless network connection คลิกขวา properties 7. เลือกตามในรูป เพื่อเข้าไปตั้งค่า ip address ของ wireless เครื่องแม่ 8. เซตค่าต่างๆตามรูป ส่วน DNS server ให้เอาจากข้อ 4
    9.จานั้นไปที่แถบ wireless networks แล้วคลิกปุ่ม add เพื่อทำการสร้าง ssid 10. ให้เซตตามรูป ใส่ ssid ที่ต้องการ network key คือรหัสใส่แค่ 5 ตัว
    12. ได้เครือข่่ายออกมา
    13. คลิกปุ่ม advance ทำเครื่องหมายดังรูป
    14.ได้แล้ว
    เครื่องลูกก็ทำการเชื่อมต่อได้เลย

    การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์

    การเชื่่อมต่อคอมพิวเตอร์
     สิ่งที่ต้องมี
     1. คอมพิวเตอร์สองเครื่อง และต้องติดตั้งการ์ด LAN ทั้งสองเครื่อง (หรือถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่ต้อง)
     2. ทำสาย LAN แบบไขว้ หรือสายแลนแบบ cross + เข้าหัว RJ45 ความยาวสาย กะเอาครับว่าจะห่างกันแค่ไหน (สายแลนแบบ cross ก็คือ การต่อสายเพื่อให้ใช้ได้กับเครื่องคอม 2 เครื่องโดยไม่ต้องผ่าน HUB)

          หากผู้ใช้มีความคิดที่จะนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาต่อเป็นระบบ โดยใช้ขีดความสามารถเดิมที่มีอยู่ สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ดังนี้ 1) การต่อเชื่อมผ่านช่องทาง COM1 COM2 และ LPT เป็นวิธีที่นำคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ต่อผ่านช่องทาง COM1 หรือ COM2 เพื่อการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างนั้น ในกรณีนี้ใช้โปรแกรมอรรกประโยชน์ (utility program) บางตัวก็สามารถสำเนาแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน หรือส่งออกไปยังเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ รูปแบบการต่อระบบโดยอาศัย COM1 COM2 และ LPT แสดงดังรูป

        การต่อในลักษณะนี้ใช้ช่องทาง RS232 และมีการส่งข้อมูลแบบอนุกรม ปัจจุบันสามารถทำการรับส่งข้อมูลถึงกันได้เร็วถึง 38.4 กิโลบิตต่อวินาที การจัดการระบบง่าย ๆ นี้ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรมาก แต่ประโยชน์ที่ได้จะอยู่ในวงจำกัด โดยเฉพาะในเรื่องการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน 2) การต่อเชื่อมเข้ากับบัฟเฟอร์เครื่องพิมพ์ การแบ่งกันใช้เครื่องพิมพ์เป็นวิธีการใช้ทรัพยากรเครื่องพิมพ์ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น การใช้เครื่องพิมพ์ที่มีราคาแพง มีคุณภาพดี เช่น เครื่องพิมพ์ความเร็วสูง เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องพิมพ์ที่พิมพ์สีได้ เป็นต้น การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันวิธีหนึ่งก็คือ การต่อเข้ากับบัฟเฟอร์ของเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง แล้วจัดการส่งงานทยอยพิมพ์เรียงกันไป เครื่องพิมพ์ที่ต่อกับบัฟเฟอร์จะต่อผ่านช่องทางขนานเหมือนการต่อทั่วไป อย่างไรก็ดี บัฟเฟอร์ของเครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถต่อกับเครื่องพิมพ์ได้หลายเครื่อง


                                   ตัวอย่างการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน

          การเชื่อมต่อโดยใช้ระบบสลับสายข้อมูล เป็นวิธีการต่อขยายระบบโดยใช้ระบบง่าย ๆ ที่ใช้มือช่วย ระบบสลับสายข้อมูลทำหน้าที่เหมือนชุมสายโทรศัพท์ระบบเก่า ที่ต้องมีพนักงานรับโทรศัพท์คอยสลับสายให้ใช้งานตามความต้องการ เช่น ใช้สายยูทีพี โดยให้หัวต่อเป็นแบบ RJ45 การสลับสายจะเชื่อมตัวระหว่างหัวต่อ RJ45 ที่มารวมกันไว้อยู่บนแผงร่วมกัน ส่วนของแผงนี้จะเป็นเสมือนส่วนที่รวมสาย เพื่อการเชื่อมโยงจากต้นทางไปยังปลายทางตามข้อกำหนดที่ต้องการ

                                            ตัวอย่างการต่อเชื่อมเครือข่ายโดยใช้ระบบสลับสายข้อมูล

            ปัจจุบันมีแผงสลับสายข้อมูลให้ผู้ใช้เลือกใช้ทั้งอีเธอร์เน็ตแบบเท็นเบสที หรือแบบอนุกรมผ่านช่องทาง RS232 การใช้ระบบสลับสายข้อมูลเป็นการเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบง่าย ๆ แต่สามารถปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการใช้งาน 4) การเชื่อมต่อผ่านระบบผู้ใช้หลายคนหลายช่องทาง ระบบผู้ใช้หลายคนขนาดเล็กที่อยู่บนไมโครคอมพิวเตอร์มีหลายระบบ เช่น ระบบยูนิกซ์ ระบบเอสซีโอ ระบบดังกล่าวสามารถต่อเชื่อมขยายเข้ากับสถานีย่อยได้มาก เป็นระบบที่ใช้งานร่วมกันได้ในราคาประหยัด มีซอฟต์แวร์สนับสนุนอยู่มากเช่น ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีระบบรักษาความปลอดภัย ข้อเด่นของระบบผู้ใช้หลายคนในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้ใช้งานพร้อมกันได้หลายคน หลายงาน มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์และซอฟต์แวร์ระบบสื่อสารไว้มาก มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี มีการต่อช่องทางเข้าออกไปได้หลายแบบ เช่น แบบเป็นสถานีปลายทาง RS232 ผ่านทางเส้นใยนำแสง อีกทั้งมีระบบเครือข่ายท้องถิ่นที่เชื่อมต่อตามมาตรฐานสากล ทำให้การทำงานของระบบประสบผลสำเร็จ



    ตัวอย่างการต่อเชื่อมระบบยูนิกซ์บนพีซีซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนการรวมกลุ่มใช้งานอีกแบบหนึ่ง

    วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

    วันปีใหม่

    สวัดดีครับ ผม ทัศนัย อากิม ก่อนเทศกาลปีใหม่ ผมได้เดินทางกลับต่างจังหวัดไปเยี่ยมแม่และญาติ ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผมไม่ค่อยได้กลับต่างจังหวัดบ่อยครั้งนัก ไปเจอญาติแต่ล่ะคนเลยจำไม่ค่อยได้บ้างไม่รู้จักบ้าง และได้เฉลิมฉลองวันปีใหม่กับพ่อแม่และญาติๆ ซึ่งญาติก็มากันเยอะมาก วันต่อมาก็ได้เดินทางกลับมายัง กทม.

    วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

    สาย RG ชนิดต่างๆ


    สาย  RG ชนิดต่างๆ 

    1. สาย RG6  สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพ ทีได้รับความนิยมนำมาใช้งานในระบบ นำสัญญาณภาพแบบต่างๆ ทั้ง TV เคเบิ้ล ดาวเทียม หรือ ระบบ Audio/Video ส่วนใหญ่ก็นิยมนำสายชนิดนี้มาใช้งาน และ สายชนิดนี้ยังนิยม นำมาใช้งานกับระบบกล้องวงจรปิด CCTV มากที่สุดอีกด้วย ซึ่งสาย RG6 ในปัจจุบันมีอยู่หลายเกรดด้วยกัน แต่สาย RG6 ที่ควรนำมาใช้งานในระบบกล้องวงจรปิดนั้นควรจะเป็นสาย RG6 ที่มีคุณภาพสูง มี Shield ป้องกันสัญญาณสูง 95% เพราะหากนำสายที่มีคุณภาพต่ำ มี Shield แค่ 60%-80% มาใช้งานอาจจะทำให้ได้คุณภาพของภาพจากกล้องวงจรปิดออกมาไม่ดี และ เมื่อใช้งานไปนานๆแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญญาณด้านสายสัญญาณภาพในภายหลังได้ สาย RG6 จะมีทั้งแบบที่เป็น Shield ทองแดง และ แบบที่เป็น Shield อลูมิเนียม ทั้งนี้ขึ้นอยู่สถานที่และต่ำแหน่งกล้องวงจรปิดที่จะใช้ในการติดตั้ง ว่าอยู่ ณ จุดใด หากเป็นจุดที่เดินสายในระยะไกลประมาณ 400-700 เมตรขึ้นไปก็ควรจะใช้สายที่เป็น Shield ทองแดง แต่ถ้าหากกล้องวงจรปิด ในจุดนั้นเดินสายไกลไม่เกิน 400 เมตร ก็ใช้สายที่เป็น Shield อะลูมิเนียมได้ สาย RG6 จะมีทั้งสีแดง และ สีขาว ซึ่งสาย สีขาวจะนิยมใช้งานภายในอาคาร เพราะสายสีขาวไม่ทนทานต่อแสงแดง สาย RG6 สีขาวส่วนใหญ่จะเป็นสายเกรดต่ำ ฉนวนหุ้มสายที่เป็นสีขาวนั้นเปื่อย-ขาดได้ง่าย ส่วนสาย RG6 ที่เป็นสีดำนั้น จะเป็นสายที่มีเกรดสูงกว่าสายสีขาว ทนทานต่อแดงได้ดี ไม่เปื่อย-ขาดง่าย ทนต่อความร้อนได้ แต่ก็จะมีราคาแพงกว่าสายสีขาว สายที่นิยมมาใช้ในระบบกล้องวงจรปิดนั้นจะใช้สายสีดำเป็น ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และ ทนทานมากกว่าสาย RG6 สีขาว

    2. สาย RG59  สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพเหมือนกันกับสาย RG6 แต่สาย RG59 จะมีขนาดที่เล็กกว่าสาย RG6 และมีความยืดยุ่นสูงกว่า เพราะสายเส้นเล็กกว่า แต่สาย RG59 จะนำสัญญาณภาพได้ในระยะที่สั้นกว่าสาย กว่าคือสาย RG59 นำสัญญาณภาพได้ไกลไม่เกิน 200 เมตร เพราะสาย RG59 มีการลดทอนของสัญญาณภาพมากที่สุด เพราะสายมีขนาดเล็กสุด นั่นเอง สาย RG59 จะเหมาะกับใช้งานภายในอาคาร ในลิฟท์ เพราะมีสายมีขนาดเล็กและมีความยืดยุ่นได้ดี

    3. สาย RG11 สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 1000 เมตร เพราะตัวสายมีขนาดใหญ่กว่าสาย RG6 และ RG59 อยู่มาก จึงมีแกนกลางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ จึงนำสัญญาณได้ดี เหมาะกับใช้งานที่ต้องการเดินสายกล้องวงจรปิดระยะไกลๆได้ดี
    สายสัญญาณภาพที่นำมาใช้กับกล้องวงจรปิด
    RG59
     ใช้ในการเดินสายกล้องวงจรปิดในระยะ 0-200 เมตร
    RG6
     ใช้ในการเดินสายกล้องวงจรปิดในระยะ 0-700 เมตร
    RG11
     ใช้ในการเดินสายกล้องวงจรปิดในระยะ 700-1000 เมตร
        ในกรณีที่ต้องเดินสายไกลเกินกว่า 1000 เมตร ก็จะต้องใช้อุปกรณเสริมเข้ามาช่วยเพื่อให้นำสัญญาณภาพได้ไกลยิ่งขึ้น นั่นก็คือ บูตเตอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยขยายสัญญาณภาพและนำสัญญาณภาพไปได้ไกลกว่าเดิม บูตรเตอร์มีอยู่รุ่นบางรุ่นนำสัญาณภาพได้ไกล 1500 เมตร บางรุ่นนำสัญญาณภาพได้ไกลเกินกว่า 2000 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความเหมาะสมตามหน้างานที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดนั้นๆ

    RG8 คือสายนำสัญญาน
    วีทู 3 ชั้นคือสายอากาศ

    จะใชเครื่องวิทยุคมนาคมแบบใดก็สามารถไช้ได้ถ้าระบบทั้งหมดมีค่าความต้านทาน 50 โอห์มหรือไกล้เคียงที่สุด 
    ตรวจสอบด้วยการวัดค่า vswr ครับ
    สำหรับสายนำสัญญาน RG8 ความยาวไม่ควรเกิน 20 เมตรเพราะจะสูญเสียสัญญานมากกว่า 1.731 dB 
    ความสูงอยู่ที่ความปลอดภัยเป็นหลัก หากใช้แป๊บประปาเพื่อติดตั้งไม่ควรเกิน 2 ท่อน (12 เมตร) ควรดึงสลิง 
    ถ้าเป็นกายทาวเวอร์ (มาตราฐาน 12 นิ้ว) ความสูงมากน้อยต้องดูมุมดึงกายวายครับ 

     สาย RG-58 ไม่ควรเกิน 10 เมตร หรือ 15 เมตร ในย่าน 145 MHz
    เลือกใช้สายนำสัญญาณ สิ่งที่ควรนำมาพิจาณามากที่สุดก็คือ อัตราการสูญเสีย ถ้าสูญเสียมากเกินไป มันก็ไม่คุ้มกับความยาว หรือความสูงของสายอากาศที่เพิ่มขึ้น ขอยกตัวอย่างแบบย่อ ๆ นะครับ ถ้า สาย RG-58A/U ที่ความถี่ 145.00 MHz อัตราการสูญเสีย 19.9 dB ต่อ 100 เมตร ถ้าเราใช้ 15 เมตรจะมีอัตราการสูญเสีย 2.98 dB หรือประมาณ 3 dB สัญญาณที่ออกปลายสายก็เหลือแค่ 50 % ลองคิดดูว่า จะคุ้มหรือเปล่า ถ้าเราใช้มือถือ 5 วัตต์ แต่ไปถึงปลายสายแค่ 2.5 วัตต์ แถมบางท่านไปจูนเครื่องมาเป็น 7 วัตต์ คิดว่าจะได้ใช้ 7 วัตต์ ที่ไหนได้มาถึงปลายสายแค่ 3.5 วัตต์ สู้ไปเปลี่ยนสายนำสัญญาณไม่ได้ แถมเครื่องก็จะได้ไม่ร้อนด้วย